ประวัติ

                            ประวัติสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบึงสามพันเริ่มก่อตั้งที่ ที่ว่าการกิ่งอำเภอบึงสามพันในปี พ.ศ.2523 โดยมีสาธารณสุขอำเภอ
คนแรกชื่อ นายเรวัตร์ นุชชม จากนั้นปี พ.ศ. 2524 ได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่ สถานีอนามัยชั้น 2 ตำบลซับสมอทอด 
 โดยแบ่งส่วนหนึ่งของสถานีอนามัยชั้น 2 ซับสมอทอด เป็น สำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอบึงสามพัน ปี พ.ศ. 2528 
ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน โดยรื้อถอนอาคารสถานีอนามัยชั้น 2 ซับสมอทอด
หลังเดิม และก่อสร้างทดแทน ในสถานที่เดิม ปี2541 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงาน
ตามแบบกระทรวงสาธารณสุขจนถึงปัจจุบัน

                             รายนามผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน
                            1.นายเรวัตร์        นุชชม             พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2528                    
                            2.นายเฉลิม         กังวาลย์           พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2540              
                            3.นายธีรศักดิ์       รักสัจจา          พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541
                            4.นายเฉลิมวุฒิ     ศิวาภรณ์          พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
                            5.นายพิชัย          กันทา             พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
                            6.นายมานพ        เงินโฉม            พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2545
                            7.นายวีรชัย         สีหะนาม          พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548
                            8.นายดิลก          อ่อนลา            พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2548
                            9.นายวัฒนศักดิ์    จันทร์แปลง       พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2557
                           10.นายธีรวัฒน์      คำโฉม             พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2564  
                           11.นายสุเทพ       วรรณา             พ.ศ. 2564  - ปัจจุบัน
                    
ประวัติ

            นายสุเทพ  วรรณา ตำแหน่ง สาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน (ท.ช.)/(นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ)
การศึกษา
            สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยนเรศวร 2545
            สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เอก สาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  2539     
            สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เอก  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2542     
            นิติศาสตรบัณฑิต  มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2551
            กำลังศึกษา เนติบัณฑิตไทย
ประวัติการทำงาน
            บรรจุรับราชการครั้งแรก สถานีอนามัยห้วยระหงส์ ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก เพชรบูรณ์
            นักวิชาการสาธารณสุข 5 สถานีอนามัยท่าพล ตำบลท่าพล อำเภอเมือง เพชรบูรณ์
            นักวิชาการสาธารณสุข 7  สถานีอนามัยสะเดียง ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง เพชรบูรณ์
            นักวิชาการสาธารณสุข 7 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
            เลขานุการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
            รองหัวหน้ากลุ่มงาน คุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์
            ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
            สาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน
รางวัลที่เคยได้รับ
            ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ดีเด่น เขตสุขภาพที่ 2 ปี 2561
            ข้าราชการดีเด่น จากมูลนิธินายแพทย์ประดิษฐ์ กาญจนพันธุ์ 2539
            บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น จากคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบูรณ์  2556
            พ่อตัวอย่าง โรงเรียนวิทยานุกูลนารี  จังหวัดเพชรบูรณ์ 2554 
            พ่อตัวอย่าง โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย  จังหวัดพิษณุโลก 2555
            รางวัลผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด “Comprehensine”หลักสูตรการพัฒนาทีมผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอเขต
             พื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 2 และมีผลการเรียนตลอดในหลักสูตร เป็นอันดับสอง 85.19 % 

ผลงานด้านวิชาการ/ผลงานเด่น
           1. นำเสนอผลงาน 1 ใน 13 เรื่อง สาขาส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 14  ของกรมอนามัย เรื่องผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วม ของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังต่อพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์  ตีพิมพ์ วารสารสุขศึกษาและสื่อสารสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุขปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –  ธันวาคม 2563
            2.วิจัยเรื่องมุมมองทัศนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อมาตรการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรณีโคโรนาไวรัส COVID - 19 จังหวัดเพชรบูรณ์นำเสนอผลงานวิชาการดีเด่นระดับประเทศ การประชุมวิชาการสมาคมสาธารณสุขแห่งประเทศไทยปี 2563  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดภูเก็ต
            3.วิจัยเรื่องการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนตำบลสะเดียงเกี่ยวกับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ของเขต 9 การประกวดผลงานทางวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2539
            4.วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับ อาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ของเขต 9 การประกวด ผลงานทางวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2543
            5.วิจัยเรื่องการศึกษาผลกระทบของการจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลา ของสถานีอนามัยใน จังหวัดเพชรบูรณ์  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในระดับจังหวัด ปี 2548
            วิสัยทัศน์
                        “มุ่งผลสัมฤทธิ์ พัฒนาระบบสุขภาพ ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำงานอย่างมืออาชีพ”
            ในการปฏิบัติงาน ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน  มีทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่ายการทำงาน เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน
            ของประชาชน การทำงานเพียงลำพัง ทำได้รวดเร็ว แต่ไม่สามารถไปได้ไกล ได้นาน และยั่งยืน ดังนั้น
            ทิศทางการทำงานร่วมกัน จึงสำคัญ 
ทั้งยังต้องมี คุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีธรรมมาภิบาล โปร่งใส
             มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผลการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองอย่างยั่งยืน ดำเนินการตามภารกิจหลัก ในการดำเนินงาน
             ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ การคุ้มครองผู้บริโภค
              และปฏิบัติตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ให้ความสำคัญ ต่อโครงการพระราชดำริ
              โครงการเฉลิมพระเกียรติ น้อมนำหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นประเด็นสำคัญ ลงสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 5 ยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

                    1.ยกระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ พัฒนาระบบสุขภาพ ทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน
                    2.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร พัฒนาระบบบริการ ลดความแออัด และการเข้าถึงบริการ
                    3.ป้องกันโรคภัยสุขภาพระดับพื้นที่ เร่งด่วน COVID-19  Vaccine Active case Finding
                      เศรษฐกิจสุขภาพ ส่งเสริมการใช้   สมุนไพร กัญชง กัญชาทางการแพทย์
                    4.อภิบาลระบบการทำงานทุกระดับ สุขภาพดีวิถีใหม่ สร้างเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                    5.บริหารด้วยหลักธรรมมาภิบาล สุจริต โปร่งใส จัดกลไกสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            
 

^